top of page

SMART HEALTHCARE

TECH ROADMAP

hospital-9.png
hospital-9-ปรับขนาด.png

โครงการแผนที่นําทางการพัฒนาโซลูชันคลังเวชภัณฑ์
หรือคลังยาอัจฉริยะบนฐาน IoT

“เวชภัณฑ์และยาเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการมอบการรักษาผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด โรงพยาบาลที่มีระบบคลังเวชภัณฑ์และคลังยาที่มีประสิทธิภาพ จะยกระดับการบริการและดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพดีขึ้นเป็นทวีคูณและลดการสูญเสียเวชภัณฑ์และยาได้อย่างมหาศาล”

ที่มาโครงการวิจัย

      ปัญหาเวชภัณฑ์และยา ขาดสต็อก/ค้างสต็อก/ล้นสต็อก ยาหมดอายุ จนถึงไม่สามารถจัดสรรปริมาณยาให้เพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะการให้บริการ ขนาดของโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาได้ เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในไทยจำนวนมากต้องเผชิญ และเป็นปัญหาที่กระทบต่อประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงต้นทุนด้านเวชภัณฑ์และยาที่ล้น/ขาด/เกิน ซึ่งต้องสูญเสียไปเป็นจำนวนมหาศาลอย่างไร้ประโยชน์

SHTR-flow.png

      จากปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login) จึงศึกษาพัฒนาโครงการ “แผนที่นำทางการพัฒนาโซลูชันคลังเวชภัณฑ์/คลังยาอัจฉริยะบนฐาน IoT” หรือ “Smart Healthcare Tech Roadmap” เป็นโครงการการพัฒนาคลังเวชภัณฑ์และคลังยาให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักการด้านโลจิสติกส์ มุ่งเน้นการวิเคราะห์กระบวนการทำงานทั้งระบบภายในโรงพยาบาล ร่วมกับกระบวนการทำงานของคลังเวชภัณฑ์และคลังยา เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาอย่างละเอียดในแต่ละกระบวนการ สร้างแผนที่สำหรับพัฒนาโซลูชันคลังฯ โดยนำเทคโนโลยี IoT มาใช้เพื่อรับ-ส่ง และประมวลผลข้อมูลสารสนเทศภายในคลังฯ ยกระดับให้เป็นคลังอัจฉริยะ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสม ตรงตามการใช้งานที่สุดเข้ามาใช้งาน ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถแก้ปัญหาเวชภัณฑ์และยา ให้บริการและดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ด้วยต้นทุนที่มีอยู่จำกัด พัฒนาคลังเวชภัณฑ์และคลังยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นคลังฯ ที่ทันสมัย ภายใต้งบประมาณหรือต้นทุนที่จำกัด

IOT
ร้านเครื่องสำอาง

แนวทางการพัฒนาแผนที่นําทางการพัฒนาโซลูชันคลังเวชภัณฑ์หรือคลังยาอัจฉริยะบนฐาน IoT

     การจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาโซลูชันสำหรับคลังเวชภัณฑ์/คลังยาอัจฉริยะบนฐาน IoT สำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เริ่มจากการพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคม (Social) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) สิ่งแวดล้อม (Environmental) และการเมือง (Politic) โดยประเมินผลกระทบของปัจจัยดังกล่าวต่อโอกาสด้านการตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น สามารถดัดแปลงให้แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับโรงพยาบาล ความต้องการ และวัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีนั้นๆ ได้

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

18.png

1. การสำรวจการปฏิบัติหน้างาน (Workflow)

21.png

4. การสำรวจและคัดสรรกลุ่มเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ (Potential Technology)

19.png

2. การกำหนดสมรรถนะของระบบ (Performance Measure)

22.png

5. การระบุรายละเอียดข้อกำหนดของเทคโนโลยี (Focused Technology)

20.png

3. การระบุ เก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของระบบ (Factor)

23.png

6. การจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาโซลูชั่น (Technology Road mapping)

bottom of page