SMART WAREHOUSE
หลักการและเหตุผล (PRINCIPLE & REASON)
โลจิสติกส์เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่สนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการไปยังลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2560 กลับพบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย มีมูลค่ารวม 2,020.60 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.90 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปี (Normal GDP) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยจากทุกภูมิภาคของโลกมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP มีเพียงร้อยละ 10.9 นอกจากนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเขตบริหารพิเศษที่เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชีย อย่างเช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ต่ำกว่าร้อยละ 10 ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในระดับนานาชาติ
การพัฒนาคลังสินค้าทั่วไปจากรูปแบบดั้งเดิมสู่รูปแบบอัจฉริยะที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ได้แก่ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) หุ่นยนต์ (Robots) และระบบอัตโนมัติ (Automation System) แบบครบวงจร จึงเป็นทางเลือกที่นำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการสำหรับการจัดการการไหลของวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า โดยมุ่งเน้นการลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการและการพึ่งพิงแรงงานเป็นสำคัญ การเพิ่มประสิทธิภาพของแผนผังและความแม่นยำของสินค้าคงคลัง และการรองรับความผันผวนของอุปสงค์ อันนำไปสู่การลดลงของต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติแบบครบวงจรหนึ่งๆ ไม่ได้เหมาะกับทุกๆ ลักษณะงาน และระบบอัตโนมัติแบบครบวงจรหนึ่งๆ ไม่ได้เหมาะกับทุกๆ องค์กรเช่นกัน เนื่องด้วยความผันผวนของอุปสงค์ (ปริมาณและประเภทของสินค้าสำเร็จรูปที่ลูกค้าต้องการ) ข้อจำกัดด้านทรัพยากร (กำลังคน วิธีการทำงาน พื้นที่ทำงาน ปริมาณและประเภทของวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิต) และด้านงบประมาณเป็นสำคัญ
ดังนั้น การพัฒนาโซลูชั่นสำหรับคลังสินค้าอัจฉริยะแบบครบวงจร จำเป็นต้องอาศัยแบบจำลองสำหรับการจัดการคลังสินค้าอัจฉริยะและพิมพ์เขียวสำหรับระบบอัตโนมัติแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการสร้างคลังสินค้าอัจฉริยะแบบครบวงจรของนักบูรณาการระบบ (System Integrators)
กรอบแนวคิด (FRAMEWORK)
อุปกรณ์อัจฉริยะ (SMART OBJECTS)
SMART RACKS AND PALLETS : RFID
SMART HANDLIFTS AND STACKERS : RFID + LOAD CELL + WMS
SMART RACKS AND PALLETS : RFID
SMART WAREHOUSE OPERATIONS : IOT SOLUTION FOR UNIT LOAD
TRADITIONAL WAREHOUSE OPERATIONS : SELECTIVE RACKING + UNIT LOAD
WMS PUTAWAY
ระบบ WMS ตรวจสอบตำแหน่งการเก็บพาเลท
ช่วยลดเวลาในการนำสินค้าเข้าและออก
WMS PUTAWAY : ERROR CASE
WMS PICK UP : FULL PALLET
ระบบ WMS ตรวจสอบตำแหน่งการเก็บพาเลท
ผิดพลาด เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
ระบบ WMS ตรวจสอบความถูกต้องจากน้ำหนักของพาเลท ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบการนับจำนวนสินค้า
WMS PICK UP : PARTIAL PALLET
ระบบ WMS การทำงานแบบ Shopping pallet เพิ่มประสิทธิภาพในการหยิบสินค้า