MATCHING SYSTEM
โครงการวิจัยระบบจับคู่ระหว่างความต้องการเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล (อุปสงค์)
และกระทรว งสาธารณสุขและผู้บริจาค (อุปทาน) ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19
“หากโรงพยาบาลสามารถจับคู่ความต้องการเวชภัณฑ์เข้ากับการจัดสรรเวชภัณฑ์จากกระทรวงสาธารณสุขและการรับบริจาค จะช่วยแก้ปัญหาสต๊อกขาด, สต๊อกเกิน, สต็อกหมดอายุ เมื่อมี Matching System ที่สามารถประเมินความต้องการเวชภัณฑ์จากจำนวนบุคลากร จำนวนผู้ป่วย และประเภทการรักษา เพื่อวางแผนสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ที่มาโครงการวิจัย
วิกฤตโควิด-19 (Covid-19) ที่ผ่านมา เป็นสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นข้อจำกัด และความท้าทายในระบบ หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านสาธารณสุขจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ ความท้าทายด้านการกระจายยาและเวชภัณฑ์ ที่บางโรงพยาบาลมียา หรือเวชภัณฑ์ไม่เพียงพอ หรือกระจุกตัวอยู่เพียงบางโรงพยาบาล ขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นความท้าทายด้านการจัดการสต๊อกเวชภัณฑ์ และยา ภายในโรงพยาบาล เมื่อข้อมูลสต๊อก และข้อมูลจำนวนผู้ป่วย ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ หรือ จัดการสต๊อกให้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงได้ ส่งผลให้โรงพยาบาลขาดแคลนเวชภัณฑ์และยาที่จำเป็น การจะส่งมอบ หรือส่งต่อเวชภัณฑ์และยาจากกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริจาคให้กับโรงพยาบาลก็ทำได้ยาก เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ไม่สามารถจัดสรรเวชภัณฑ์และยาให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนได้ภายในระยะเวลาที่จำกัด
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ จึงนำปัญหาดังกล่าวมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบจับคูระหวางอุปสงค์และอุปทาน (Matching System) โดย Matching System เป็นระบบที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนเวชภัณฑ์, จำนวนผู้ป่วย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการเวชภัณฑ์ และยา อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถกระจายเวชภัณฑ์ ไปยังโรงพยาบาลที่ต้องการตามความเหมาะสมได้ สามารถตรวจสอบได้ว่าในระบบมีเวชภัณฑ์และยาอะไรที่เข้ามาในระบบ, กำลังกระจายไปที่ไหน ภายใต้ระบบตรวจติดตาม (Tracking System) และคงเหลืออีกเท่าไหร่ เพื่อให้เวชภัณฑ์สามารถไปถึงโรงพยาบาลที่มีความต้องการตามจำนวนและประเภทจริง
การทำงานของระบบจับคู่ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
Matching System จะเป็นระบบที่เข้ามาช่วยทำให้การบริหารจัดการสต๊อกเวชภัณฑ์และยา ของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบันทึกข้อมูลเวชภัณฑ์และยาแต่ละ SKUs ได้แบบเรียลไทม์และอัตโนมัติ ประกอบกับเชื่อมโยงข้อมูลจำนวนผู้ป่วย ความต้องการในการใช้เวชภัณฑ์และยาในแต่ละช่วงเวลา เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของผู้ป่วย เตรียมสต๊อก และจัดซื้อได้ล่วงหน้า ลดปัญหาสต๊อกขาด สต๊อกเกิน และเวชภัณฑ์และยาหมดอายุ ช่วยลดต้นทุนที่ต้องสูญเสียไปอย่างสูญเปล่าในแต่ละปีได้อย่างมหาศาล