DIGITAL TRANSFORMATION
“ปัญหาจะถูกแก้ไข เมื่อเห็นปัญหาที่แท้จริง VSM คือแผนที่สำคัญที่เผยให้เห็นปัญหาอย่างทั้งกระบวนการ
เพื่อให้นำปัญหาที่แท้จริงเหล่านั้น ไปค้นหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุด”
ที่มาของโครงการวิจัย
ปัจจุบันการทำ Digital Transformation หรือ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาองค์กร/อุตสาหกรรม หรือ ธุรกิจ จนถึงการเปลี่ยนรูปแบบ กระบวนการ และระบบการทำงาน โดยใช้เทคโนโลยี กำลังมีบทบาทต่ออุตสาหกรรม และธุรกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำ Digital Transformation ไม่เพียงช่วยให้การทำงานภายในองค์กรคล่องตัวขึ้น การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม และตอบโจทย์องค์กรสูงสุด ยังช่วยลดการสูญเสีย ลดต้นทุน เพิ่มผลิตผล พัฒนาคุณภาพการทำงาน และคุณภาพสินค้า/บริการได้อย่างมาก หน่วยงาน/บริษัท/องค์กรในไทย จึงเริ่มหันมาสนใจทำ Digital Transformation กันมากขึ้น
การทำ Digital Transformation ที่ให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด และเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด ต้องอาศัยการทำ VSM หรือ Value Stream Mapping (สายธารแห่งคุณค่า) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างภาพกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (End-to-End Process) ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบกระบวนการอย่างละเอียด ทำให้องค์กรเห็นกระบวนการที่มีวิกฤต หรือมีความผิดปกติ จนถึงกระบวนการที่สร้างความสูญเปล่า นำไปสู่การออกแบบ Solution และคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละกระบวนการได้ถูกต้อง และดีที่สุด ดังนั้น การออกแบบสายธารแห่งคุณค่า หรือ VSM จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ ก่อนที่องค์กรจะเริ่มทำ Digital Transformation
ทีมวิจัยศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล่าธนบุรี (มจธ.) จึงจัดทำโครงการร่วมวิจัยกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ และเอกชน ศึกษาวิจัยกระบวนการทำงานขององค์กรแบบ End-to-End Process เพื่อออกแบบสายธารแห่งคุณค่า (VSM) และพัฒนาองค์กรสู่การทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ และได้ประโยชน์สูงสุด
กระบวนการออกแบบ VSM
กระบวนการออกแบบ VSM ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์หลายแขนง ทั้ง การนำ “แนวคิดแบบลีน” (Lean) มาใช้เพื่อขจัดความสูญเปล่า เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และส่งมอบคุณค่าสูงสุด ร่วมกับ “แนวคิดแบบซิกส์ ซิกมา” (Six Sigma) ซึ่งใช้เพื่อขจัดความแปรปรวนของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลิตผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ และสร้างความพึงพอใจสูงสุด
ทั้งนี้ ลีน, ซิกส์ ซิกมา, และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแนวทางสำคัญในการขยายกำลังการผลิต และจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่วิกฤตและผิดปกติ หรือ กระบวนการที่เป็นคอขวด (ผลิตของดีในปริมาณที่น้อยกว่ากระบวนการอื่นๆ) หรือ กระบวนการที่มีความสูญเปล่าสูง (ผลิตของเสียและของชำรุดเยอะ ใช้เวลาของการเปลี่ยนรุ่นนาน เครื่องจักรเสียบ่อยและซ่อมบ่อย) หรือ กระบวนการที่มีผลิตภาพต่ำ (ใช้ทรัพยากรมาก แต่ได้ผลผลิตต่ำ) เป็นต้น ทั้งนี้ กระบวนการที่วิกฤตและมีความผิดปกติสามารถตรวจจับได้ด้วยแผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Map: VSM)
กระบวนการจัดการความวิกฤตและความผิดปกติ โดย VSM จะต้องมีการค้นหาต้นตอของสาเหตุ (Root Causes) ด้วยแผนภาพก้างปลา (Ishikawa Diagram) ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยหลักการ Why-Why Analysis แล้วจึงเลือกแนวทางต่างๆ ในการจัดการต้นตอของสาเหตุนั้นออกจากกระบวนการที่วิกฤตและผิดปกติ ซึ่งมีทั้งแบบไม่ลงทุนด้วย ECRS (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) และแบบลงทุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT), อินเทอรเ์น็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) สำหรับอธิบายเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น (Descriptive), ค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์นั้นๆ (Diagnostic), ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต (Predictive), และแนะนำแนวทางที่เหมาะสม (Prescriptive) โดยแนวทางดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเป็นได้ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Feasibility) และจัดลำดับตามความเร่งด่วนและความสำคัญและ (Urgent-Important Matrix)
"ศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login) ร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และถ่ายทอดความรู้ให้กับองค์กรที่ร่วมโครงการวิจัย เพื่อสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา และพัฒนาทั้งองค์กรทั้งระบบ โดยเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมกับองค์กรที่สุด และคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด"
"นอกจากนี้ทีมวิจัยฯ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคลากรในองค์กร เพื่อให้การพัฒนากระบวนการทำงาน และการทำ Digital Transformation ขององค์กรนั้นๆ ยั่งยืน ขับเคลื่อนต่อไปในอนาคตได้ด้วยบุคลากรของตนเอง"
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
โครงการร่วมวิจัย VSM for Digital Transformation ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน ลักษณะการดำเนินการ
จะทั้งการลงพื้นที่ศึกษา วัจัย อบรมบุคลากร จัดเวิร์กช็อป และให้คำปรึกษากับองค์กร และมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. เลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ
4. แปลงข้อมูลทั้งหมดเป็นแผนภาพด้วยสัญลักษณ์มาตรฐานของ VSM
7. ค้นหารากเหง้าสาเหตุ
ของกระบวนการวิกฤตนั้น
2. พิจารณากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เลือกแบบครบวงจร (end-to-end)
5. ประเมินสัดส่วนการสร้างคุณค่าตลอดสายธาร
8. พัฒนาโซลูชันสำหรับจัดการ
รากเหง้าสาเหตุนั้น
3. รวบรวมข้อมูลที่สำคัญ
ของแต่ละกระบวนการ
6. ระบุกระบวนการวิกฤต
9. เลือกโซลูชันที่เหมาะสม
สำหรับช่วงเวลานั้นๆ